[m_ihc_get_user_detail uid=”1250″]
บริษัท เอนเนอร์ยี่ ควอลิตี้ เซอร์วิส จำกัด
ที่อยู่: 599/104 ถนนรัชดาภิเษก
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์: 0-2192-1847-8
โทรสาร: 0-2192-1849
อีเมล: consultant@eqs.co.th
การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
ดำเนินการตรวจสอบ วันที่ 8 มีนาคม 2561
รายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
นายปรีชา โขธนพงศ์ ตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ |
|
นางสาวอัษฎาภรณ์ ตั้งใจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ชำนาญการ |
|
นางสาวอัษฎาภรณ์ ตั้งใจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ชำนาญการ |
สรุปผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
ผ่านการตรวจสอบ เนื่องจากเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุม ปฏิบัติตามข้อกำหนดถูกต้องและครบถ้วนทุกข้อ |
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 1 คณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น
- ทางหน่วยงานสามารถนำผลการประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายย่อยทางด้านพลังงานในอนาคต
ขั้นตอนที่ 3 นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน
- การประเมินการใช้พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริการ อาจทำการประเมินต่อหน่วยผู้ใช้งานหรือจำนวนนักศึกษาผู้ใช้งาน น่าจะเหมาะสมและสะท้อนถึงการใช้พลังงานได้ดีกว่า
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- หากเพิ่มกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้บุคคลากรส่วนอื่น เช่น คณาจารย์และนักศึกษา ได้มีส่วนร่วมในระบบการจัดการพลังงานดังกล่าว จะทำให้ภาพรวมการใช้พลังงานขององค์กรดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 6 การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน และแผนฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่ 7 การตรวจติดตามและการประเมินการจัดการพลังงาน
ขั้นตอนที่ 8 การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน
ดำเนินการตรวจสอบ วันที่ 22 มีนาคม 2560
รายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
- นายปัญจะ ทั่งหิรัญ ตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ
- นายธีระศักดิ์ ลิขิตเลิศล้ำ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ชำนาญการ
- นายชิตวรนันต์ อิสระตระกูล ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ชำนาญการ
สรุปผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
ผ่านการตรวจสอบ เนื่องจากเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุม ปฏิบัติตามข้อกำหนดถูกต้องและครบถ้วนทุกข้อ
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 1 คณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน
- สามารถเพิ่มเติมกรอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะทำงานที่นอกเหนือจากข้อกำหนดตามกฎหมายได้ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
- เพื่อให้การดำเนินระบบการจัดการพลังงานมีความคล่องตัวยิ่งขึ้นอาคาร อาจแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการ เพิ่มเติมอีก 1 คณะจากผู้แทนส่วนงานที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนภารกิจในการดำเนินระบบการจัดการพลังงานในภาคปฏิบัติ ของคณะทำงานด้านการจัดการของมหาลัยที่แต่งตั้งในปัจจุบันซึ่งจะปฏิบัติภารกิจหลักในลักษณะอำนวยการและกำหนดกรอบนโยบาย
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น
- ควรกำหนดเป้าหมายในการประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นในแต่ละหัวข้อเพื่อใช้เป็นตัวชี้วัด และติดตามการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรในหน่วยงานของการจัดการพลังงานในแต่ละด้าน
- สามารถพิจารณาปรับปรุงเครื่องมือในการประเมินที่สามารถนำไปใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ประเมิน และสามารถสะท้อนถึงผลการประเมินที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในกรณีที่พบว่าเครื่องมือ Energy Matrix เดิมยังไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 3 นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
- สามารถเพิ่มเติมข้อกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานที่นอกเหนือจากข้อกำหนดตามกฎกระทรวงฯ ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของอาคารควบคุม
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน
- ข้อมูลระบบไฟฟ้า ในภาคผนวก ข ควรแสดงรายละเอียดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าแยกเป็นรายมิเตอร์เนื่องจากการจัดเก็บค่าไฟฟ้าในอัตรา TOU (4.2.2) และอัตราปกติ (3.1.2) มีลักษณะการจัดเก็บที่ต่างกัน
- ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมทุกมิเตอร์ ไม่ต้องแสดงค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) เนื่องจากช่วงเวลาการเกิดค่าพลังไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละมิเตอร์อาจเกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
- ข้อมูลสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าแยกตามระบบที่ระบุในภาคผนวก จ. ควรมีความสอดคล้องกับ ตารางที่ 4.4 แบบบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีนัยสำคัญของเครื่องจักร/อุปกรณ์หลัก
- ในการประเมินระดับการบริการอาคาร อาจเพิ่มตัวชี้วัดอื่น นอกเหนือจากค่าการใช้พลังงานจำเพาะของพื้นที่ใช้สอย เช่น ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (Specific energy consumption: SEC) ของจำนวนนักศึกษา ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนต่อการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัยได้ดีกว่า
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- เป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงานของโรงงาน ในกรณีที่โรงงานได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงจุดที่ดีที่สุด (Optimum) ในความคุ้มค่าของการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานแล้ว จะเป็นการรักษาระดับมาตรฐานการใช้พลังงานของโรงงานให้ดีเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยอาจไม่มีเป้าหมายเป็นร้อยละที่ลดลงของปริมาณพลังงานที่ใช้เดิมได้
ขั้นตอนที่ 6 การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน และแผนฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่ 7 การตรวจติดตามและการประเมินการจัดการพลังงาน
- ควรตรวจประเมินส่วนงานย่อยต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในแต่ละคณะ หรือแต่ละแผนก เพื่อนำไปสู่การการปรับปรุงพัฒนาระบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 8 การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน